บรรดาผู้จัดงานหวังว่างานดังกล่าว จะดึงความตื่นเต้นของบรรยากาศงานหลายปีก่อนกลับคืนมา หลังจากต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มานานสองปี
2566 จัดใหญ่
ย้อนไปเมื่อเดือน ม.ค. ปี 2563 มีคนเข้าร่วมงานมหกรรมนี้ที่ลาสเวกัสมากกว่า 117,000 คน ซึ่งงานจัดขึ้นหนึ่งสัปดาห์ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง จนทำให้หลายประเทศทั่วโลกต้องล็อกดาวน์ ส่งผลให้ในปี 2564 งานซีอีเอสต้องจัดแบบไฮบริด หรืองานที่เปิดโอกาสให้เข้าร่วมได้ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ควบคู่กัน และมีประชาชนเข้าร่วมงานราว 40,000 คน แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้น ลูกค้าหลายคนจึงหลีกเลี่ยงงานมหกรรมนี้
“แกรี ชาปิโร” ประธานสมาคมเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภคและผู้จัดงานซีอีเอส ระบุ “ผู้คนรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้กลับมาลาสเวกัสเพื่อเข้าร่วมงานซีอีเอส 2023 และคนจะต้องเยอะมากแน่ ๆ” โดยผู้จัดงานต่างหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 100,000 คน
เมตาเวิร์สไม่สิ้นมนตร์
ทั้งนี้ งานซีอีเอสเมื่อปีก่อน จัดขึ้นภายใต้ไอเดียเสมือนจริง สามารถเข้าร่วมงานผ่านเครื่องฉายภาพเสมือนหรือวีอาร์หลายประเภทจากหลายบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นโลกอินเทอร์เน็ตแห่งอนาคต แต่หลังจากนั้น 1 ปี ความเสื่อมศรัทธาต่อเมตาเวิร์สเริ่มมากขึ้น เมื่อ “เมตา” อดีตบริษัทที่เคยรู้จักในนามเฟซบุ๊ค เดิมพันอนาคตตนเองกับการสร้างโลกเสมือน
‘เมตาเวิร์ส’ การเดิมพันครั้งใหญ่ของเมตา ยังไม่สามารถเป็นแพลตฟอร์มรายใหญ่ได้” แคโรลินา มิลาเนซี นักวิเคราะห์กลยุทธ์ความคิดสร้างสรรค์ กล่าว
อย่างไรก็ดี โลกเสมือนอาจเป็น'งานส่วนใหญ่ของงานซีอีเอส เนื่องจากเมตาและบริษัทอื่น ๆ ยังคงพยายามลดความเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับระบบนี้ต่อไป
ราวกับมอเตอร์โชว์
นอกจากนี้ การจัดแสดงเทคโนโลยีของบริษัทผลิตรถยนต์ภายในงาน อาจเป็นการจัดแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปี มีผู้จัดแสดงสินค้ากว่า 300 รายเข้าร่วมจัดงานในโถงใหญ่ พร้อมด้วยปาฐกถาพิเศษจากบริษัทสเตลแลนทิส บีเอ็มดับเบิลยูและบริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ
“เควาน ยาโลวิตซ์” ที่ปรึกษาเอคเซนเชอร์ บริษัทซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มชั้นนำระดับโลก เผยว่า “ปีนี้จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนอยู่ในงานมอเตอร์โชว์ก็ว่าได้”
แม้ความหวังว่ารถยนต์ไร้คนขับว่าจะได้ใช้งานจริงบนท้องถนน ต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ แต่หลายบริษัทยังคงนำเสนอนวัตกรรมที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ไร้คนขับต่อไป ไฮไลต์ที่สำคัญอีกอย่างของงาน เป็นเทคโนโลยีซอฟต์แวร์สำหรับรถยนต์ หรือระบบจัดการอัตโนมัติที่สามารถสั่งการได้จากระยะไกล เช่นเดียวกับแล็ปท็อปและสมาร์ตโฟน
“โปรแกรมดังกล่าว อาจเปลี่ยนประสบการณ์ผู้ใช้ได้ทันที เช่น การจำกัดความเร็วหรือการซ่อมแซม และระบุปัญหาที่สามารถแก้ไขได้โดยที่ลูกค้าไม่รู้ว่ามันได้รับการแก้ไขแล้ว” ยาโลวิตซ์กล่าว
ปฏิวัติการเชื่อมต่อ
และเมื่อปีที่แล้ว การปฏิวัติเงียบเกี่ยวกับซอฟต์แวร์เกิดขึ้นโดยไม่กลายประเด็นร้อน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการปฏิวัติดังกล่าวจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อเริ่มเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่พัฒนาซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน
โดยมาตรฐานสมาร์ทโฮมใหม่ ที่เรียกว่า “แมตเทอร์” (Matter) ได้รับการรับรองในเดือน ต.ค. 65 นั่นหมายความว่า มาตรฐานดังกล่าวสร้างมาเพื่อระบบซอฟต์แวร์อเล็กซา (Alexa) ของอเมซอน หรือเนสต์ (Nest) ลำโพงไร้สายของกูเกิล ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และสร้างโอกาสครั้งใหญ่สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถคิดค้นระบบต่าง ๆ และเข้าถึงผู้บริโภคที่เป็นไปได้อย่างกว้างขวางที่สุด
“เอวิ กรีนการ์ต” นักวิเคราะห์จากเทคส์โพเนนเชียล เผยว่า มาตรฐานเวอร์ชันแรกตกยุคแล้ว มีผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์มากมายได้รับการรับรอง และในอนาคตจะมีซอฟต์แวร์มาจัดแสดงจำนวนมากในงานซีอีเอส “เราจะได้เห็นมาตรฐานสมาร์ทโฮมแมตเทอร์ทำงานร่วมกับเสียงกริ่งบ้าน เครื่องดูดฝุ่น และเครื่องใช้อื่น ๆ” กรีนการ์ต กล่าว
เทคโนโลยีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของเทคโนโลยีรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นธีมของซีอีเอสมาหลายครั้ง แม้ยากจะดึงดูดผู้คนที่สนใจรถยนต์เชื่อมต่ออัจฉริยะหรือแกดเจ็ตเกมล่าสุดได้ก็ตาม แต่ในเมื่อหลายบริษัทและรัฐบาลให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมสูง เทคโนโลยีสีเขียวหรือกรีนเทคจึงมีที่ทางมากขึ้น ถึงขนาดมีสถานที่จัดงานของตนเองในซีอีเอสปีนี้ บริษัทต่าง ๆ จะอวดผู้คนด้วยมุมมองความยั่งยืนของบริษัท เน้นการใช้วัสดุรีไซเคิลผลิตสินค้า คาร์บอนฟุตพรินต์หรือบริษัทสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้
https://ift.tt/6I1lnLO
แกดเจ็ต
Bagikan Berita Ini
0 Response to ""Consumer Electronics Show" มหกรรมเทคโนโลยียิ่งใหญ่ของโลก - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment