Search

อันตรายเฉย สคบ.เตือนพบ "สารตะกั่วเข้มข้น" ใน "พัดลมคล้องคอ" - NationTV

เภสัชจลนศาสตร์ 

ทั้งนี้ตามปกติแล้ว ตะกั่วเป็นธาตุที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป ผู้ใหญ่จะรับประทานอาหารโดยมีตะกั่วปนเปื้อนอยู่ด้วยประมาณวันละ 150 ug อาหารเด็กอาจมีตะกั่วปนประมาณวันละ 100 ug และรับตะกั่วในน้ำดื่มประมาณ 100 ug ต่อวัน

นอกจากนี้คนเรายังรับตะกั่วทางการหายใจ โดยทั่วไปอากาศอาจจะมีปริมาณตะกั่ว 1-2 ug/m3 ประมาณกันว่าถ้าปริมาณตะกั่วในอากาศ 1 ug/m3 จะทำให้ตะกั่วในเลือดสูงขึ้น 1 ug/dl โดยสรุปคนหนึ่งอาจรับตะกั่วเข้าไปในร่างกายวันละ 0.1-2 mg ในจำนวนนี้ประมาณ 75% เข้าทางทางเดินอาหารและ 25% เข้าทางการหายใจ การดูดซึมตะกั่วไปทางเดินอาหาร ผู้ใหญ่จะดูดซึมเข้าไปใร่างกายประมาณ 10% ส่วนเด็กจะดูดซึมมากกว่าถึง 40% จนเกิดการสะสม

สำหรับการกระจายตัวของสารตะกั่วในร่างกาย จะกระจายแบบ 3 compartments กล่าวคือตะกั่วส่วนหนึ่งจะไปอยู่ในเลือด ซึ่ง 95% จะจับกับ RBC ปริมาณที่อยู่ในเลือด 2 mg และมีค่า half-life 35 วัน อีกส่วนหนึ่งจะกระจายไปที่ soft tissue ของร่างกายเช่น ตับ ไต ระบบประสาท ปริมาณของตะกั่วที่สะสมในส่วนนี้ยังไม่ทราบแน่นอน อาจจะมีประมาณ 0.6 mg แต่ในบางการศึกษาเชื่อว่ามีมากถึง 10% ของตะกั่วที่สะสมในร่างกาย ตะกั่วในส่วนนี้มี half-life ประมาณ 40 วัน

ตะกั่วส่วนใหญ่ที่สุดที่สะสมในร่างกายคือในกระดูกมีประมาณ 200 mg บางรายงานเชื่อว่ามีประมาณ 90% ค่า half-life ของตะกั่วในกระดูกประมาณ 20-30 ปี การขจัดตะกั่วในร่างกายส่วนใหญ่ประมาณ 75% จะถูกขับออกทางไต คือ 36 ug/วัน อีก 25% หรือ 12 ug/วัน จะถูกขับออกทาง น้ำดี ผม เหงื่อ และเล็บ  อันตรายเฉย สคบ.เตือนพบ "สารตะกั่วเข้มข้น" ใน "พัดลมคล้องคอ"

พิษฤทธิ์วิทยา 

ตะกั่วออกฤทธิ์โดยจับกับ sulhydryl group ของระบบ enzyme และยังไปแทนที่โลหะตัวอื่นที่เป็นส่วนสำคัญของ enzyme ทำให้ทำงานไม่ได้ พิษของตะกั่วมีผลแบบ nonspecific ดังนั้นจึงอาจเกิดพยาธิสภาพได้หลายระบบ 

ลักษณะอาการของพิษตะกั่ว

อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หรือปวดท้องบริเวณรอบสะดือ บ้างอาจมีอาการท้องผูก โลหิตจาง มึนชาอวัยวะแขนขา ไม่มีสมาธิ ความจําถดถอย ถ้าในรายที่มีระดับตะกั่วสูงมากอาจมีอาการชัก ซึม หมดสติ และเสียชีวิตได้

การป้องกันและการรักษา

การป้องกัน โดยทั่วไปแล้วควรเน้นการป้องกันและภาวะเป็นพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มคนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับตะกั่วและกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูง โดยการรักษาความสะอาดร่างกาย การใส่หน้ากากป้องกันการหายใจเอาตะกั่วเข้าไป และควรจะเฝ้าระวังการเกิดพิษตะกั่วโดยการตรวจร่างกาย และตรวจวัดระดับตะกั่วเป็นประจำ

การรักษาแบบประคับประคอง ผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นพิษอาจมีอาการหลายระบบเช่น ชัก ปัญหาโรคตับ โรคไต อาการปวดท้อง และอื่นๆ ซึ่งจะต้องประคับประคองให้ดี Chelation ผู้ป่วยที่มีอาการมากควรจะรับผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลและพิจารณา อันตรายเฉย สคบ.เตือนพบ "สารตะกั่วเข้มข้น" ใน "พัดลมคล้องคอ"

ขอบคุณภาพและข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 
https://www.thaihealth.or.th

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( อันตรายเฉย สคบ.เตือนพบ "สารตะกั่วเข้มข้น" ใน "พัดลมคล้องคอ" - NationTV )
https://ift.tt/C3dFUQY
แกดเจ็ต

Bagikan Berita Ini

0 Response to "อันตรายเฉย สคบ.เตือนพบ "สารตะกั่วเข้มข้น" ใน "พัดลมคล้องคอ" - NationTV"

Post a Comment

Powered by Blogger.